562000011607201

การประชุมเพื่อเผยแพร่ผลการศึกษาต่อสาธารณะ “โครงการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทย” ได้รับเกียรติจาก พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รองประธาน กสทช.) ให้เกียรติเป็นประธาน

รศ.ดร. ศุภัช ศุภชลาศัย ผู้อำนวยการสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการทำวิจัยเรื่องนี้ว่า เพื่อสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทยในทุกช่องทางหลัก ได้แก่ การบริโภคสื่อภาพเคลื่อนไหว การบริโภคสื่อทางเสียง การบริโภคสื่อออนไลน์ การบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์ การบริโภคสื่อในโรงภาพยนตร์ การบริโภคสื่อกลางแจ้งและสื่อกลางแจ้งแบบเคลื่อนที่ได้ ตลอดจนวิเคราะห์และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและแนวโน้มในการบริโภคสื่อของไทยในอนาคต ทำให้การศึกษาในครั้งนี้เป็นผลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคสื่อของไทยที่ครอบคลุมทุกประเภทสื่อ และเป็นเจ้าล่าสุด

การศึกษาใน “โครงการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทย” นี้ สำนักงาน กสทช. ดำเนินการร่วมกับสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ ใช้วิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 5 ภูมิภาคตามเกณฑ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่จังหวัดที่ตกเป็นตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 26 จังหวัด

ผลการสำรวจที่เป็นไฮไลท์คือเรื่อง Digital Divide ที่เกิดจากความแตกต่างด้านอายุ (Generation Divide) รายได้ และระดับการศึกษา รวมทั้งการพยากรณ์แนวโน้มในอนาคตว่า การเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอล (Digitalization) ในการบริโภคสื่อของไทยจะเป็นไปอย่างช้าๆ เนื่องจากประชากรสูงอายุของไทยจะยังคงมีความต้องการรับสื่อผ่านช่องทางดั้งเดิมอยู่

ทั้งนี้ ผลการสำรวจสามารถสรุปเป็นประเด็นค้นพบที่สำคัญ (Key Findings) หลายประเด็น เช่น การบริโภคสื่อของไทยมีความเหลื่อมล้ำระหว่างเจเนอเรชัน ปัจจัยด้านรายได้และการศึกษามีผลต่อความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคสื่อ สื่อสิ่งพิมพ์ถือเป็นสื่อที่สะท้อนสถานการณ์ Digital Disruption มากที่สุด และจากการพยากรณ์โดยใช้ Cohort Study พบว่า การลดลงของอัตราการเกิดและการเพิ่มขึ้นของอายุขัยเฉลี่ยของประชากรไทย ทำให้การเปลี่ยนไปสู่ระบบดิจิตอลในการบริโภคสื่อในอนาคตเป็นไปอย่างช้าๆ และกลุ่มผู้สูงอายุจะยังคงมีความต้องการรับสื่อผ่านช่องทางดั้งเดิมอยู่

ผลจากการสำรวจครั้งนี้ทำให้สังคมได้รู้ว่าปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคสื่อของไทยเป็นอย่างไรและเปลี่ยนแปลงไปเช่นไร ซึ่งผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะได้เตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ได้ และส่วนธุรกิจจะได้เตรียมตัวในอนาคตได้อย่างถูกต้อง

 

ที่มา : https://mgronline.com/entertainment/detail/9620000112195

เทคโนโลยีและช่วงอายุของผู้ชมโทรทัศน์ มีผลต่อความนิยมในการรับชมสื่อภาพเคลื่อนไหวของคนไทย ในปี 2562 โทรศัพท์เคลื่อนที่กลายเป็นเครื่องมือในการรับชมรายการโทรทัศน์สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่กลุ่มคนที่มีอายุ 57 ปีขึ้นไป (กลุ่ม Baby Boomer และ Generation G.I.) ยังคงบริโภคสื่อในรูปแบบดั้งเดิมค่อนข้างมาก ในขณะที่กลุ่มคนในเจเนอเรชั่นวาย และแซด นิยมบริโภคสื่อแบบ On Demand ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ มากขึ้น

โครงการสำรวจพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อของไทย ปี 2562 จัดทำโดยสำนักนโยบายและวิชาการ กระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ร่วมกับสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนิน การสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 10,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 5 ภูมิภาคตามเกณฑ์ของสำนักงาน สถิติแห่งชาติ ประกอบด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้ ซึ่งมีพื้นที่จังหวัดที่เป็นตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 26 จังหวัด ทั้งนี้ การสำรวจครอบคลุมพฤติกรรม การบริโภคสื่อภาพเคลื่อนไหว การบริโภคสื่อทางเสียง การบริโภคสื่อออนไลน์ การบริโภคสื่อสิ่งพิมพ์ การบริโภค สื่อในโรงภาพยนตร์ และการบริโภคสื่อกลางแจ้งและสื่อกลางแจ้งแบบเคลื่อนที่ได้ ซึ่งบทความนี้จะครอบคลุมถึง สื่อเคลื่อนไหวเท่านั้น

ทั้งนี้ ในการสำรวจพฤติกรรม “สื่อภาพเคลื่อนไหว” หมายถึง รายการโทรทัศน์ ทั้งรายการปกติซึ่งรับชมสด ตามตารางการออกอากาศ/ผังรายการ และการรับชมย้อนหลังหรือรับชมตามความต้องการ รวมถึงการรับชมวิดีโอ ตามความต้องการหรือวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่างๆ

นอกจากนี้ ในการสำรวจครั้งนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มอายุของกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี

Capture1

Capture44

Capture5

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://bit.ly/2CUIvei

 

Page 4 of 5